กาฬสินธุ์ (ชมคลิป) ครบรอบ 7 ปีสถาปนามหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์

 


คณาจารย์ คณะศิษย์เก่า นักศึกษา มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ ร่วมทำบุญตักบาตร เพื่อความเป็นสิริมงคล และเชิญตราสัญลักษณ์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ ในโอกาสครบรอบ 7 ปี วันสถาปนามหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ พร้อมมอบโล่เชิดชูเกียรติบุคลากร ศิษย์เก่า นักศึกษา ที่มีผลงานดีเด่น สร้างชื่อเสียงให้กับมหาวิทยาลัย


เมื่อเวลา 08.00 น. วันที่ 9 กันยายน 2565 ที่มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ พื้นที่ในเมือง รศ.จิรพันธ์ ห้วยแสน อธิการบดีมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ พร้อมด้วยกรรมการสภามหาวิทยาลัย ศิษย์เก่า คณาจารย์ นักศึกษา ร่วมทำบุญตักบาตร เพื่อความเป็นสิริมงคล ในโอกาสวันสถาปนามหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ ครบรอบ 7 ปี


จากนั้นขบวนนักศึกษาได้เชิญตราสัญลักษณ์ “ธง” มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ โดยมีนายปราชญา อุ่นเพชรวรากร รองผวจ.กาฬสินธุ์ กล่าวปาฐกถาพิเศษ “มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์กับการพัฒนา จ.กาฬสินธุ์” ศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ ราชบัณฑิต นายกสภามหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ ในหัวข้อ “การพัฒนาท้องถิ่นด้วยนวัตกรรม”
ทั้งนี้ ในโอกาสครบรอบ 7 ปี วันสถาปนามหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ ศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ ราชบัณฑิต นายกสภามหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ ยังได้มอบโล่เชิดชูเกียรติให้กับผู้ทำคุณประโยชน์ โดยเฉพาะพลตำรวจตรีมนตรี จรัลพงศ์ กรรมการสภามหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ผู้ทรงคุณวุฒิ ได้รับประกาศเกียรติคุณผู้ทำประโยชน์ช่วยเหลือสนับสนุนกิจกรรมของมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ รวมทั้งมีการมอบให้กับศิษย์เก่าดีเด่น คณาจารย์ประจำดีเด่นด้านอุทิศตนและเสียสละ ด้านการวิจัย ด้านการพัฒนาตนเอง บุคลากรสายสนับสนุนดีเด่นด้านการอุทิศตนและเสียสละ ด้านการพัฒนาตนเอง นักศึกษาทำกิจกรรมดีเด่น นักศึกษาสร้างชื่อเสียงให้กับมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ และมอบทุนการศึกษาให้กับนักศึกษาด้วย


อย่างไรก็ตาม ภายในงานยังมีการแสดงศูนย์ความเป็นเลิศด้านสิ่งทอพื้นเมืองแพรวากาฬสินธุ์ จัดแสดงผ้าไหมแพรวา ผ้าพื้นเมืองที่มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ ได้ลงพื้นที่ให้ความรู้ในการพัฒนาผ้าแพรวา ผ้าพื้นเมือง ของ จ.กาฬสินธุ์ ให้มีหลากหลาย เพิ่มมูลค่าทางตลาด สร้างรายได้ให้กับชุมชน “มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์เป็นมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น”
ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ให้การสนับสนุน จ.กาฬสินธุ์ด้วยดีเสมอมาในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ในการพัฒนา จ.กาฬสินธุ์ ตามเป้าหมายการพัฒนา ที่ว่า“ มั่งคั่งด้วยเกษตรปลอดภัย ท่องเที่ยววิถีใหม่ ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง” ที่ผ่านมา โดยได้ดำเนินงานสนับสนุนภารกิจของจังหวัดในหลายภารกิจ เช่น การแก้ไขปัญหาความยากจนให้ลดลง โดยดำเนินการ ผ่านกระบวนการวิจัยอย่างต่อเนื่อง ร่วมเป็นการขับเคลื่อนศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (ศจพ.) กาฬสินธุ์


นอกจากนี้ ยังมีโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG มหาวิทยาลัยสู่ตำบล (U2T for BCG) ภายใต้การขับเคลื่อนหรือโครงการของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและ นวัตกรรม ในการพัฒนาและขับเคลื่อนเพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคม ทางด้านการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ (bio) เศรษฐกิจหมุนเวียน (circular) เศรษฐกิจสีเขียว (green) และสร้างความรู้ ความเข้าใจ สร้างการมีส่วนรวมในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่ด้วยยุทธศาสตร์เศรษฐกิจ BCG และกิจกรรมการพัฒนา ส่งเสริมและผลักดันผลิตภัณฑ์และบริการ BCG ของชุมชนอย่างเป็นระบบและยั่งยืนในกรอบระยะเวลาการดำเนินกิจกรรมตั้งแต่เดือนกรกฎาคม-กันยายน 2565 มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ ได้รับมอบหมายให้ดำเนินโครงการ/กิจกรรม ในพื้นที่ตำบลเดิม 20 ตำบล พื้นที่ตำบลใหม่ 59 ตำบล รวมทั้งหมด 79 ตำบล ในพื้นที่ 3 จังหวัด คือ จ.กาฬสินธุ์ 75 ตำบล, จ.มุกดาหาร 1 ตำบล และ จ.อำนาจเจริญ 3 ตำบลโดยเฉพาะพื้นที่ใน จ.กาฬสินธุ์ ถือเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจและสังคมฐานรากเป็นอย่างดี

คลิป, ในประเทศ

Related posts

404 Not Found
404
Sorry, the page you visited does not exist.
It may be that the access link is wrong or the file does not exist.