วันที่ 29 ก.ค.65 ที่หน้าอุทยานแห่งชาติภูลังกา อ.บ้านแพง จ.นครพนม คึกคักไปด้วยนักท่องเที่ยว เนื่องจากเป็นช่วงวันหยุดยาว 4 วัน ส่วนใหญ่เดินทางในลักษณะเป็นคณะและครอบครัว บรรยากาศได้กลับมาคึกคักอีกครั้ง ภายหลังมีการผ่อนคลายมาตรการหลายๆ อย่าง ประชาชน นักท่องเที่ยว กลับมาเที่ยวกันไม่ขาดสาย มีไกด์แนะนำเส้นทางการท่องเที่ยวที่สวยงามธรรมชาติงดงาม น้ำตกไหลใสเย็น
ด้านนักท่องเที่ยว มาเชี่ยมชมธรรมชาติที่มีความอุดมสมบูรณ์ น้ำตกสวยงามเดินทางไม่เหนื่อยมาก ไป-กลับ ใช้เวลาประมาณ 3 ชั่วโมง มีที่ให้ถ่ายรูป มากมาย บรรยากาศดีเขียวขจีตลอดเส้นทาง ของเชิญชวนมาเที่ยวกันเยอะๆ
นายประทีป ไชยภูวงค์ เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติภูลังกา กล่าวว่า นักท่องเที่ยวเยอะมากช่วงวันหยุด อุทยานแห่งชาติภูลังกา มาเที่ยวชมธรรมชาติสิงข้างทางเขียวขจี รับนักท่องเที่ยว โดยช่วงนี้เป็นฤดูฝนน่าเที่ยวที่สุด ถ้านักท่องเที่ยวมาเที่ยวในช่วงนี้ น้ำตกจะมีน้ำมาก กำลังสวยงาม ไม่เหือดแห้งเหมือนฤดูอื่นๆ ถ้าอยากได้ภาพถ่ายน้ำตกสวยๆ ก็ต้องมาช่วงนี้ ตั้งแต่น้ำตกตาดโพธิ์ น้ำตกผาสวรรค์ นัำตกไทรงาม
รวมทั้งจุดท่องเที่ยวยอดฮิตสายมูนิยมคือถ้ำนาคี อ.บ้านแพง และอย่าลืมปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ และช่วยกันรักษาความสะอาดพื้นที่ในป่าด้วย ซึ่งถ้ำนาคีเที่ยวได้โดยไม่ต้องจอง นักท่องเที่ยวจะได้พบความงามของธรรมชาติภูเขาน้ำตกถ้ำทะเลหมอกแนวหินลวดลายคล้ายเกล็ดลึกลับจุดท่องเที่ยวไฮไลต์แนะนำไม่ต้องจองล่วงหน้าฝั่งอำเภอบ้านแพง
นายทวีปกล่าวอีกว่า อุทยานแห่งชาติภูลังกาห่างจากตัวอำเภอบ้านแพงประมาณ 10 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่อำเภอบ้านแพง จ.นครพนม และ อ.เซกา อ.บึงโขงหลง จ.บึงกาฬ มีเนื้อที่ประมาณ 31,250 ไร่ หรือประมาณ 50 ตารางกิโลเมตร จุดเด่นที่น่าสนใจ คือ น้ำตกตาดขาม (อ.บ้านแพง นครพนม), น้ำตกตาดโพธิ์ (อ.บ้านแพง นครพนม), น้ำตกตาดวิมานทิพย์ (อ.บึงโขงหลง บึงกาฬ), น้ำตกกินรี (อ.บึงโขงหลง บึงกาฬ)
ภูลังกามีลักษณะเป็นภูเขาเรียงซ้อนกันตามแนวแม่น้ำโขง คือ ภูลังกาเหนือ ภูลังกากลาง และภูลังกาใต้ ทอดยาวตามแนวทิศเหนือกับทิศใต้และสลับด้วยเทือกเขาขนาดเล็กหลายลูกสลับซับซ้อนกันพร้อมทั้งทอดยาวตามแนวลำน้ำโขง มีความสูงจากระดับน้ำทะเล ที่จุดสูงสุดบนภูลังกาเหนือ สูง 563 เมตรจากระดับน้ำทะเล สภาพโดยทั่วไปของพื้นที่เป็นภูเขาหินทราย
โดยแบ่งชั้นหินที่สำคัญออกเป็น 3 หมวด คือ หมวดหินโคราช หมวดหินภูพาน และหมวดหินภูกระดึง ลักษณะดินจะเป็นดินทรายมีการพังทลายปานกลาง ภูลังกายังเป็นต้นกำเนิดของห้วยต่างๆ หลายสาย ที่มีความสำคัญมากสำหรับราษฎรในที่ราบที่อยู่ใกล้เคียงในการทำการเกษตรกรรม