“อาชีวะ เดินหน้าขับเคลื่อนการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาด้านอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ตอบโจทย์การพัฒนาประเทศ”

นางสาวอรพินทร์ เพชรทัต เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมรายงานความก้าวหน้าการขับเคลื่อนการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา ด้านอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2565 ณ ห้องประชุม 5 สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) โดยมี ดร. นิรุตต์ บุตรแสนลี ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาการอาชีวศึกษา (สวพ.) พร้อมด้วย ดร.นิติ นาชิต ผู้อำนวยการสำนักมาตรฐานการอาชีวศึกษาและวิชาชีพ รักษาการในตำแหน่ง ที่ปรึกษาด้านมาตรฐานอาชีวศึกษาธุรกิจและบริการ พร้อมด้วยผู้บริหารสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย (EVAT) และผู้บริหาร คณะครูจากวิทยาลัยที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม นางสาวอรพินทร์ เพชรทัต กล่าวว่า “แนวโน้มการเติบโตของตลาดยานยนต์ไฟฟ้า หรือ EV มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว มีการพัฒนานวัตกรรมต่าง ๆ ที่ตอบสนองการใช้งานของผู้ใช้มากขึ้น ซึ่งเป็นตัวชี้วัดได้ว่า เทคโนโลยีของการผลิตยานยนต์ไฟฟ้ามีการแข่งขันอย่างเข้มข้น ส่งผลต่อการเตรียมกำลังคนให้มีความพร้อมรอง ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการโดย นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้ตระหนักในเรื่องดังกล่าวที่จะต้องยกระดับการพัฒนาและผลิตกำลังคนอาชีวศึกษา เรื่อง Zero Emission Vehicle (ZEV) ให้มีปริมาณเพียงพอและมีคุณภาพรองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า (EV) เช่นเรื่องของการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ การประกอบยานยนต์ การบำรุงรักษา และการซ่อมบำรุงหลังการขาย รวมทั้งการพัฒนากำลังคนเพื่อรองรับระบบนิเวศ (Eco system) สำหรับของยานยนต์ไฟฟ้า (EV) เช่น การผลิตมอเตอร์ ระบบควบคุม และแบตเตอรี่ เป็นต้น ประกอบกับคณะรัฐมนตรีมีมติส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ให้เกิดการผลิตและสนับสนุนให้ใช้ยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ภายในประเทศ ไม่ว่าจะสนับสนุนการผลิต หรือมาตรการด้านภาษีเพื่อสร้างแรงจูงใจ ล้วนบ่งบอกว่ากระทรวงศึกษาต้องเร่งสร้างและพัฒนาทักษะกำลังแรงงานอาชีวศึกษาให้ทันเทคโนโลยี เพื่อรองรับและตอบโจทย์การเป็นแรงงานอาชีวศึกษาคุณภาพสูงในตลาดอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ในอนาคต ดร. นิรุตต์ บุตรแสนลี ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาการอาชีวศึกษา (สวพ.) ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า “สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา โดย ดร.สุเทพ แก่งสันเทียะ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ได้รับนโยบายจากกระทรวงศึกษาธิการ และได้ขับเคลื่อนเรื่องการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาด้านอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ให้ตอบโจทย์การพัฒนาประเทศในอนาคต โดยสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ได้มอบหมายให้เรืออากาศโท สมพร ปานดำ รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เป็นขับเคลื่อนเรื่องดังกล่าว ตามนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ สำหรับการประชุมวันนี้ ที่ประชุมมีมติในการขับเคลื่อน 6 ประเด็นยุทธศาสตร์ในการทำงานในระยะแยก คือประเด็นที่ 1 การสร้างการรับรู้ กับประชาชนเรื่องการขับเคลื่อนการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาด้านอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ประเด็นที่ 2 การพัฒนาหลักสูตรเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้า ประเด็นที่ 3 การจัดตั้งศูนย์ทดสอบมาตรฐานยานยนต์ไฟฟ้าดัดแปลง ประเด็นที่ 4 การจัดทำฐานข้อมูล Demand, Supply และรายละเอียดต่างๆ ที่เกี่ยวข้องประเด็นที่ 5 การพัฒนากำลังคนด้านอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า (EV) โดยจัดทำหลักสูตร Re-Skill, Up-Skill และ New-Skill และ ประเด็นที่ 6 การจัดนิทรรศการเพื่อจัดแสดงและเป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับด้านอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า ในงาน OVEC EV Expo ซึ่งจะจัดขึ้นเร็วๆนี้ ภายในธีมของการจัดงานที่เน้นนวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์และเทคโนโลยีที่ผลิตภายในประเทศผ่านฝีมือของครู นักเรียน นักศึกษาของอาชีวศึกษา เช่น ยานยนต์ไฟฟ้าดัดแปลงต้นแบบ และ การแพ็คแบตเตอรี่สำหรับรถไฟฟ้า เป็นต้น” ผศ.ดร.อุเทน สุปัตติ อุปนายกสมาคมฝ่ายวิชาการ และ ดร. ธงชัย จินาพันธ์ ประธานคณะทำงานฝ่ายข้อบังคับและมาตรฐาน สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย (EVAT) กล่าวสรุปว่า “วันนี้ถือเป็นมิติที่ดีในการขับเคลื่อนเรื่องสำคัญ ที่กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ที่จะต้องมุ่งเน้นผลิตและพัฒนากำลังคนให้มีความสามารถในหลากหลายศาสตร์ (Multidisciplinary) โดยความร่วมมือในการจัดการศึกษา ในรูปแบบทวิภาคีร่วมกับภาคเอกชนเพื่อยกระดับในการสร้างกำลังคนที่มีคุณภาพสูง และขอชื่นชมสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ที่สามารถสร้างนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ของอาชีวศึกษา ซึ่งสะท้อนถึงคุณภาพของนักเรียน นักศึกษา ที่มีความสามารถพัฒนาทักษะช่าง ทักษะวิศวกรรม และเป็นการสร้างนวัตกรรมที่เกิดขึ้นเองในประเทศ และอนาคตในการขับเคลื่อนเรื่องดังกล่าวนี้ จะช่วยให้เกิดการสร้างงาน สร้างรายได้ สร้างผลกระทบกับอีกหลายมิติผ่านการพัฒนาโครงสร้างพื้นที่ฐาน ที่อาชีวศึกษาจะเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเพื่อนำไปสู่ความยั่งยืน

ข่าวประชาสัมพันธ์

Related posts

404 Not Found
404
Sorry, the page you visited does not exist.
It may be that the access link is wrong or the file does not exist.