หนองคาย-สถานการณ์แล้ง โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาห้วยโมง จับมือกลุ่มผู้ใช้น้ำและเกษตรกรในพื้นที่ ทำการขุดลอกตะกอนดินท้ายเขื่อน

สถานการณ์แล้ง โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาห้วยโมง จับมือกลุ่มผู้ใช้น้ำและเกษตรกรในพื้นที่ ทำการขุดลอกตะกอนดินท้ายเขื่อน เพื่อเปิดทางน้ำโขงไหลเข้าสู่บ่อสูบน้ำ เข้าอ่างเก็บน้ำ ก่อนส่งน้ำให้พื้นที่ได้ใช้ประโยชน์ในช่วงฤดูแล้ง แม้ปีนี้น้ำในอ่างเก็บน้ำห้วยโมงมี 38% ย้ำผู้ใช้น้ำร่วมกันประหยัดน้ำ ลดเสี่ยงขาดแคลนน้ำในอนาคตด้วย
วันที่ 9 ก.พ.65 นายสุนทร คำศรีเมือง ผู้อำนวยการโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาห้วยโมง เปิดเผยว่า กรมชลประทาน กระทรวเกษตรและสหกรณ์ โดยโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาห้วยโมง อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย ร่วมกับกลุ่มผู้ใช้น้ำของโครงการฯ ทำการขุดลอกตะกอนเพื่อเปิดทางน้ำเพิ่มประสิทธิภาพการไหลของน้ำเข้าสู่บ่อสูบของสถานี ก่อนสูบส่งเข้าไปที่อ่างเก็บน้ำห้วยโมง และส่งน้ำในช่วงฤดูแล้งนี้ ตามนโยบายของรัฐบาล ที่กำชับให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องบูรณาการการทำงานเพื่อยกระดับความเป็นอยู่ของเกษตรกรให้ดีขึ้น
ปัจจัยแปรผันของแม่น้ำโขงที่พบคือระดับน้ำลดลงอย่างมาก ทำให้เกิดสันดอนด้านท้ายประตูน้ำห้วยโมง น้ำโขงไม่สามารถไหลเข้าสู่เครื่องสูบได้ ดังนั้น โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาห้วยโมง จึงร่วมมือกับกลุ่มผู้ใช้น้ำ ดำเนินการขุดลอกตะกอนดินและสิ่งกีดขวางทางน้ำ บริเวณท้ายของโครงการฯ เพื่อให้เกษตรกรในพื้นที่ สามารถวางแผนใช้น้ำเพื่อการเพาะปลูกในเขตโครงการได้เต็มพื้นที่ แต่อย่างไรก็ตาม ขอความร่วมมือจากทุกภาคส่วนใช้น้ำอย่างประหยัด เพื่อให้มีปริมาณน้ำสำรองไว้ใช้ในยามขาดแคลนที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต ปัจจุบันได้เดินครื่องสูบน้ำ 2 เครื่อง ตลอด 24 ชม. สามารถสูบน้ดั้นล่ะ 180,000 ลูกบาตรเมตร จะสูบต่อเนื่อง 1- 2 เดือน หากมีน้ำฝนมาเติมและระดับน้ำโขงสูงขึ้น ไหลเข้ามาบ่อสูบก็จะสามารถเดินเครื่องได้มากขึ้น
ส่วนการปลูกพืชฤดูแล้ง โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาห้วยโมงมีแผนการปลูกพืชและการเกษตรทั้งหมด 27,000 ไร่ เป็นการปลูกข้าวเป็นหลักกว่า 24,000ไร่ ปัจจุบันเกษตรกรทำการปลูกข้าวนาปรังกว่า 19,000ไร่ ต่ำกว่าแผนที่วางไว้ ซึ่งมีหลายปัจจัยที่เกษตรกร ปรับแผนที่จะทำการเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง ปัจจุบันมีน้ำในอ่างเพียง 38% จึงจำเป็นจะต้องสูบน้ำจากน้ำในแม่น้ำโขง เข้าไปกักเก็บในอ่างเก็บน้ำ-ภาพ-ข่าว-ฤาษีลภ-ปวีณา-ผู้สื่อข่าวประจำจังหวัดหนองคาย