อุดรธานี-รมช.กระทรวงเกษตรฯลงพื้นที่อีสานประชุมชี้แจงโรคระบาดหมู-ช่วยเหลือเกษตรกร

เมื่อเวลา09.00น.วันที่ 13 มกราคม 2565 ที่หอประชุมทองใหญ่ ศาลากลาง จ.อุดรธานี นายประภัตร โพธสุธน รมช.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้เป็นประธานการประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อชี้แจงทำความเข้าใจกับเจ้าหน้าที่ ที่เกี่ยวข้องในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พร้อมด้วยแกนนํากลุ่มผู้เลี้ยงสุกรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อแก้ไขปัญหาราคาสุกร เป็นการเริ่มต้นภารกิจตรวจเยี่ยมลงพื้นที่ จ.อุดรธานี และ จ.หนองคาย ระหว่างวันที่ 12 – 15 มกราคม 2565
ที่ในประชุมฯ นายสยาม ศิริมงคล ผวจ.อุดรธานี ได้กล่าวรายงานสรุปข้อมูลการเกษตรในพื้นที่ จ.อุดรธานี ในเบื้องต้น โดยมี ผู้ว่าราชการจังหวัด 12 จังหวัด สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในพื้นที่ จ.อุดรธานี จ.หนองคาย จ.สกลนคร และ จ.หนองบัวลำภู พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถาบันการเงิน และแกนนํากลุ่มผู้เลี้ยงสุกรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กลุ่มเกษตรกรในพื้นที่ 12 จังหวัด ให้การต้อนรับและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นในการแก้ไขปัญหา จากนโยบายของรัฐบาล “โครงการสานฝันสร้างอาชีพยกระดับรายได้เกษตรกร”
นายสยาม ศิริมงคล ผวจ.อุดรธานี กล่าวว่า อุดรธานี มีสถานที่ประกอบการฟาร์มสุกร 3,795 ฟาร์ม แยกเป็น ขนาดใหญ่ 3 ฟาร์ม ขนาดกลาง 210 ฟาร์ม ขนาดเล็ก 3,582 ฟาร์ม มีจำนวนสุกรทั้งสิ้น 346,964 ตัว สาเหตุสำคัญที่ทำให้เนื้อสุกรมีราคาสูงขึ้น เนื่องจากปัญหาโรคระบาดในสุกร ได้แก่ การติดเชื้อ PRRS (โรคในระบบสืบพันธุ์และระบบทางเดินหายใจในสุกร) จนทำให้ปริมาณเนื้อสุกรที่เข้าสู่ทางตลาดมีปริมาณน้อยลง และเกษตรกรรายย่อยประสบภาวะขาดทุน
เบื้องต้นได้ให้ความช่วยเหลือเป็นเงินชดเชยแก่เกษตรกรผู้ประสบภัยดังกล่าว จำนวน 17,376,433.25 บาท มีเกษตรกรที่ได้รับความช่วยเหลือ 122 ฟาร์ม มาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหา ได้ดำเนินการเฝ้าระวังการระบาดของโรค ชี้แจงให้ความรู้เกษตรกรในการป้องกัน การปฏิบัติเมื่อเกิดโรค การปฏิบัติเมื่อโรคสงบ และการเฝ้าระวังเชิงรุก ลงพื้นที่ตรวจสอบฟาร์มสุกร และตั้งด่านสกัดกั้นการเคลื่อนย้ายที่ผิดกฎหมาย และส่งเสริมเกษตรกรรายย่อยเลี้ยงสุกรในระบบฟาร์มที่มีระบบป้องกันโรค และการเลี้ยงสัตว์ที่เหมาะสม (GFM) รวมถึงการพัฒนาสู่ฟาร์มมาตรฐาน (GAP) “
นายประภัตร โพธสุธน รมช.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า ขณะนี้มีโรค ASF ระบาดอยู่ในพื้นที่ จ.นครปฐม เพียงแห่งเดียว ซึ่งทางกระทรวงฯได้มีคำสั่งส่งเจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์ลงพื้นที่สแกนทุกจุด รวมทั้งจังหวัดอื่นๆ เราก็จะออกประกาศตาม พรบ.โรคระบาดในสัตว์ทันที หากตรวจพบเชื้อไม่ว่าพื้นที่ใดก็ตาม ซึ่งทาง และจะใช้ได้จริงก็ต่อเมื่อเจ้าหน้าที่ลงตรวจสอบพบเชื้อในพื้นที่นั้นๆ อย่างเช่น ปศุสัตว์อำเภอ หากพบเชื้อสามารถประกาศได้ทันที แต่ระดับจังหวัดต้องให้ ผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นผู้ออกประกาศ
ในส่วนข้อมูลโรคระบาดนี้ทางเรารู้มาตั้งแต่ปี 2562-2563 ที่เคยระบาดอยู่ในประเทศเพื่อนบ้านที่ ประเทศเขาทำลายสกัดการแพร่ระบาด ผมเองพร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ก็เดินทางไปดูที่ จ.เชียงราย หลังจากพบหมูลอยตายเกลื่อนในแม่น้ำโขง จึงรวมประชุมกับผู้ว่าราชการจังหวัดทางภาคเหนือ เพื่อไปสกัดกั้นไม่ให้แพร่เชื้อลงมา และพบเป็นโรค MERS , PRRS ซึ่งขณะนั้นยังไม่พบโรค ASF แต่อย่างใด
แต่ที่ระบาดหนักในฟาร์มเกษตรกรผู้เลี้ยงหมู จ.นครปฐม และ จ.ราชบุรี ขอยืนยันว่าเป็นโรคระบาดที่ร้ายแรง ทางเราได้รับรายงานจากกรมปศุสัตว์ว่าเชื้อที่พบคือ โรคเพิร์ส ทางเราก็ต้องเชื่อทางกรมฯ เพราะตนไม่ใช่หมอ แต่เป็นผู้กำกับดูแลเกี่ยวกับเรื่องนี้โดยตรง และทางเราก็ไม่ได้นิ่งเฉยได้ลงพื้นที่ส่งเสริมป้องกันและชี้แจง
ที่ครั้งแรกไม่ได้ออกมาชี้แจง เนื่องจากนักวิชาการกรมปศุสัตว์ ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าโรคที่ระบาดอยู่ในขณะนี้คือโรคระบาดสายพันธุ์อะไร เมื่อมีการยืนยันแล้วตนเองจึงกล้าที่จะออกมาพูดหรือชี้แจงให้รับทราบข้อมูลที่ตรงกัน เช่นเดียวกับท่าน รัฐมนตรีกระทรวงเกษตรฯ ได้ออกมาพูดในข้อมูลที่ตรงกัน และที่ผ่านมาตนก็เดินทางไปชี้แจงทางภาคเหนือแล้วที่ จ.เชียงใหม่ ก่อนจะมาภาคอีสานที่ จ.อุดรธานี เป็นที่ประชุม เนื่องจากทางภาคอีสานมีเกษตรกรผู้เลี้ยงหมูรายย่อยจำนวนมาก
ในส่วนที่มีกระแสสังคมตั้งคำถามว่าภาครัฐนิ่งเฉยต่อโรคระบาดในหมูนั้น ไม่เป็นความจริง เพราะทางเรามีสมาคม มีบอร์ดพิจารณา คือท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงฯ เป็นประธาน ส่วนตนเป็นเพียงผู้กำกับดูแล ไม่ได้เป็นกรรมการ และเป็นประธาน หากมีการเปลี่ยนแปลงทางบอร์ด แต่และบอร์ดจะรายงานให้ท่านประธานรับทราบ ซึ่งท่านรัฐมนตรีว่าการฯ เห็นเป็นเรื่องสำคัญและออกมากำกับด้วยตนเอง